Cute White Flying Butterfly Cute White Flying Butterfly

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

         เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้ายของวิชานี้ และภาคเรียนนี้ โดยเรียนรวมกันทั้ง 2 กลุ่ม อาจารย์ให้รางวัลเด็กดี และแจ้งเกี่ยวกับการเรียนตารางเรียนของเทอมหน้า และสรุปการเรียนการสอนทั้งหมด



การบันทึกครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน
       
       อาจารย์ให้รำวงจากนั้นอาจารย์ก็จะมีสถานการณ์ต่างๆ สุดท้ายให้จับกลุ่มละ 5 คน เขียนนิทานหรือแต่งนิทาน โดยมีแนวคิดให้ว่า "ถ้าสิ่งมีชีวิตพูดได้"

กลุ่มที่ 1 แสดงนิทานเรื่อง ถ้าฉันเดินได้
กลุ่มที่ 2 แสดงนิทานเรื่อง  ยีราฟผู้กระหายน้ำ
กลุ่มที่ 3  กลุ่มดิฉันแสดงนิทานเรื่อง ป่ามหัศจรรย์
กลุ่มที่ 4 แสดงนิทานเรื่อง เพื่อนรัก
กลุ่มที่ 5  แสดงนิทานเรื่อง เพื่อนรัก




ความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์
     สามารถนำเอากิจกรรมต่างๆและกิจกรรมนิทานที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการได้ 


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจคิดและแต่งนิทานช่วยเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆต่างตั้งใจเรียนและตื่นเต้นกับกิจกรรมเพราะไม่รู้ว่าจะได้ทำกิจกรรมอะไรในวันนี้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์




วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน
           การสอนเคลื่อนไหว เพื่อบูรณาการการเรียนรู้ศิลปสร้างสรรค์ อาจารย์ได้สอนเนื้อหาและได้ให้แบ่งกลุ่มเพื่อที่เขียนแผนการสอนกิจกรรมมเคลื่อนไหวและจังหวะ

กลุ่มที่ 1 สอนเคลื่อนไหวตามข้อตกลง


กลุ่มที่ 2 สอนการเคลื่อนไหวประกอบเพลง


กลุ่มที่ 3 สอนการเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม


กลุ่มที่ 4 สอนการเคลื่อนไหวตามำบรรยาย


กลุ่มที่ 5 สอนการเคลื่อนไหวแบบจำ


กลุ่มที่ 6 สอนการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง

ความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์
     ในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีการแทรกความคิดสร้างสรรค์ไว้ได้ ในทุกแบบ เราสามารถใส่เข้าไปได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของกิจกรรม


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ยังสอนไม่คล่องและมีข้อผิดพลาดอยู่มาก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆบางกลุ่มก็สอนได้ดี บางกลุ่มก็ต้องมีการปรับปรุง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยแนะนำการสอนที่ถูกวิธี ทุกกลุ่ม เพื่อที่นักศึกษาจะนำไปปรับปรุงการสอน




การบันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่  7 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน

            วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำเสนอของเล่นหรือสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้

1. โฮโรแกรมสามมิติ

2. เตาอบป๊อบคอร์น

3. รถขับเคลื่อนด้วยหนังยาง

4. เตาปิ้งแบบพกพา

5. โคมไฟจากขวดน้ำ

6. อ่างล้างจาน (สามารถเข้ามุมบทบาทสมมติได้)

7. เตาแก๊ส (สามารถเข้ามุมบทบาทสมมติได้)

8. หมวกจากกล่องนม

9. ตะกร้าจากกล่อง

10. เครื่องคิดเงินหรือแคชเชียร์ (สามารถเข้ามุมบทบาทสมมติได้)

11. ถังขยะจากขวดน้ำ

12. สานเสื่อจากกล่อง

13. บัวรดน้ำจากกระป๋อง

14. กล่องดินสอจากขวดพลาสติก

15. โต๊ะจากกล่อง

16. ตู้ลิ้นชักใส่ของ

17. กระเป๋าจากกล่อง 

18. ร้อยเชือกรองเท้า

19. ที่ทำความสะอาดรองเท้า

20. ฝาชีจากขวดน้ำ

21. ที่คาดผมจากฝาขวดน้ำ

22. ตู้เย็นจากขวด

23. เคสโทรศัพท์










ความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์
     สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีประโยชน์และสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นของเล่นเข้ามุม ของที่สามารถนำมาใช้เช่นเสื่อจากกล่องนมเป็นต้น


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เตรียมตัวมานำเสนอผลงาน และตั้งใจฟังเพื่อน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆนำเสนอผลงานออกมาได้ดีมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยแนะนำติชมผลงานที่ไม่เรียบร้อย เพราะการที่จะทำผลงานออกมาต้องใช้ได้จริง


สานเสื่อจากกล่องนม

อุปกรณ์

กล่องนม 72 กล่อง
กรรไกร
เทปกาว

ขั้นตอนในการทำ
1. นำกล่องนมมาตัดตามแนวนอน ขนาด 2 เซนติเมตร ให้ครบ 72 กล่อง
2.นำมาสานดังรูป  
 


3. สานไปเรื่อยๆจนได้ความกว้าง ความยาว ตามต้องการ
4. ใช้เทปกาวติดขอบเพื่อเก็บเศษที่ยื่นออกมา
ผลงานที่ได้






การบันทึกครั้งที่ 10
วันจันทร์ที่  31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมบรูณาการ
ออกแบบกิจกรรมให้แตกต่าง เพราะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

1. ลักษณะพัฒนาการเด็กเชื่อมโยงทั้ง 4 ด้าน
2. เมื่อจัดประสบการณ์ จัดให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

       อาจารย์ให้คิดสิ่งประดิษฐ์ของเล่นจากเศษวัสดุเหลือใช้  ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำ คือ ขวดน้ำ กระป๋อง และกล่อง  เพื่อนๆแต่ละคนก็ศึกษาหาข้อมูลการทำสิ่งต่างๆ  เมื่อได้ชื่อสิ่งของเหลือใช้ที่เราจะประดิษฐ์ก็ได้รวบรวมรายชือสิ่งประดิษฐ์ไปให้อาจารย์ดู  สำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่ดิฉันจะทำ คือ สานเสื่อจากกล่องนม


ความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์
     สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ โดยการให้เด็กประดิษฐ์สิ่งของสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสคิดริเริ่มด้วยตนเอง นำไปสู่ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดละออได้


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : รวบรวมข้อมูลหาจากอินเทอร์เน็ตและเสนออาจารย์มีความกระตือรือล้นในการคิด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนและรวบรวมข้อมูลเพื่อคิดค้นของเล่นตัวเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยแนะนำและบอกว่าของเล่นชิ้นนี้ควรทำรือไม่ควรทำเพราะอะไร




การบันทึกครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่  24 ตุลาคม พ.ศ. 2559


หยุดชดเชยวันปิยมหาราช


          
             เนื่องจากวันนี้ (23 ต.ค.) เป็นวันปิยมหาราช ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวันที่สำคัญของคนไทย ทีมข่าว MThai จึงได้รวบรวมพระราชกรณียกิจในความทรงจำที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  มาไว้ให้ได้ระลึกถึงกัน ดังนี้
พระราชกรณียกิจอันสำคัญ ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช ก็คือ การเลิกทาส สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ
นอกจากนี้ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ บุคคลศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ รวมทั้งได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ระบบการใช้ธนบัตร และเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัด และอำเภอ

             ด้านการสร้างถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตัดถนนราชดำเนิน และถนนเยาวราช ส่วนถนนสายอื่นๆ ที่โปรดให้สร้างและบูรณะเพื่อความสะดวกในการสัญจรของราษฎร ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเจริญกรุง ถนนวังบูรพา ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนจักรเพชร ถนนมหาชัย ถนนสี่พระยา เป็นต้น
ด้านการสร้างสะพาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลอง เช่น สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สะพานมัฆวานรังสรรค์ ฯลฯ และยังได้จัดสร้างสะพาน ขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษาจนถึงปีสวรรคต รวม ๑๗ สะพาน
โดยพระราชทานนามสะพานขึ้นด้วยคำว่า “เฉลิม” และ ตัวเลขต่อท้ายระบุพระชนมพรรษา เช่น สะพานเฉลิมศรี ๔๒ สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๘ ขณะเจริญพระชนมพรรษา ๔๒ พรรษา นับเป็นสะพานแรก และสะพานสุดท้ายคือ สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘
ด้านการไปรษณีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๖ มีการส่งจดหมายพัสดุสิ่งของเป็นครั้งแรก เฉพาะภายในกรุงเทพฯ แล้วขยายออกบริเวณตามหัวเมือง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๘
             ด้านการเสด็จประพาส  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสเป็นยิ่งนัก พระองค์เสด็จประพาสทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จพระราชดำเนินดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่างๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้ง ทำให้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่างๆ ทั้งที่ดี และไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ได้นำไปพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น
เราตั้งใจอธิษฐานว่า เราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างที่สุด ที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่ง ซึ่งมีอิสรภาพ และความเจริญ  กระแสพระราชดำรัสที่บ่งบอกถึงพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่5
ขณะนั้นประเทศแถบอินโดจีนได้ถูกรุกรานจากประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก เนื่องจากประเทศในแถบอินโดจีนเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่าย รวมถึงประเทศไทยก็เผชิญเช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมแกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จประพาสยุโรป เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น อีกทั้งต้องการศึกษาวิทยาการต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงประเทศ และจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระองค์ในครั้งนี้ก็ได้นำความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการมาสู่บ้านเมืองของเรา

               การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๔๔๐ ได้ส่งผลดีในการเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งรัสเซีย
                ซึ่งการเสด็จฯ เยือนรัสเซียครั้งนั้นนับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของการเสด็จประพาสยุโรปทั้งหมด ข่าวการรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่รัสเซียในครั้งนั้น ทำให้ราชสำนักต่าง ๆ ในยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดความเกรงใจอยู่ไม่น้อย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับมหาอำนาจตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สะท้อนให้เห็นนโยบายของไทยที่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม และยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้
                ทั้งนี้ เพราะไทยเป็นประเทศเล็กที่มีกำลังน้อย ท่ามกลางประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกยึดครองไปจนหมด ไทยจึงไม่อาจต่อรองด้วยกำลังกับชาติมหาอำนาจ แต่จะต้องพยายามแก้ปัญหาโดยใช้ “กลยุทธ์ทางการทูต” ในการรักษาเอกราชของชาติไว้ เห็นได้ชัดจากความสัมพันธ์ที่เกิดจากมิตรไมตรีขององค์ประมุขของไทยและ รัสเซีย ได้ช่วยให้ไทยสามารถดำเนินนโยบายถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยไว้ตามแนวสันติวิธี


การบันทึกครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่  18 ตุลาคม พ.ศ. 2559




เนื้อหาที่เรียน

        วันนี้อาจารย์ก็ทบทวนความรู้เดิมเรื่ององค์ประกอบการคิด จากนั้นอาจารย์ให้ออกแบบตัวเลข 0-9 ทำเป็นกลุ่ม และนำมาเข้าเล่ม ทำเป็นเกมการศึกษา

กลุ่มที่ 1 เกมการศึกษาเกี่ยวกับ รูปกับจำนวน  ก็จะสอนเกี่ยวกับ จำนวนของตัวเลข  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยมและรูปอื่นๆ
กลุ่มที่  2 เกมการศึกษาพื้นฐานการบวกเลข 0-9

กลุ่มที่  3 ทำนิทานที่สอนเกี่ยวกับจำนวนของตัวเลข


ความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์
     - ตัวเลขสามารถนำมาทำสื่อได้หลายรูปแบบในการสอน  ไม่ว่าจะเป็นนิทาน เกมการศึกษา เป็นต้น การต่อเติมตัวเลขและเปรียบเทียบตัวเลขกับสิ่งของต่างๆทำให้เด็กได้รู้จักการเปรียบเทียบและ คิดสร้างสรรค์ลักษณะรูปทรงความเหมือนต่างๆ


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ช่วยเพื่อนทำเลขศูนย์ในกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจทำกิจกรรมของกลุ่มตัวเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้ได้ครบและสื่อการสอนที่ดีมากค่ะ






การบันทึกครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่  10  ตุลาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน

             วันนี้เรียนเกี่ยวกับการคิด ช่วงแรกอาจารย์ก็อธิบายเนื้อหา และก็มีการถามนักศึกษา จากนั้นก็แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมศิปสร้างสรรค์ ดังนี้




กลุ่มที่ 1 แกนกระดาษทิชชู่ 
ทำเป็นรูปแมลง 






กลุ่มที่ 2 พิมพ์มือ 
         เอาสีทามือทั้งสองข้าง จากนั้นแปะบนกระดาษ A 4 ทำเป็นผีเสื้อ 



กลุ่มที่ 3 จานกระดาษ 
มีกระดาษปอน สีเมจิก  เชือก กาว ให้เราออกแบบงานเป็นหน่วยแมลง และต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 





กลุ่มที่ 4 เป่าสี 
กิจกรรมมีสีให้เราผสมแม่สีกัน จากนั้นก็มีหลอดให้เราเป่าสี



ความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์
     - การคิดริเริ่มเกิดจากประสบการณ์ใหม่ จนทำให้เราคิดคล่องแล่ว คิดยืดหยุ่นกว่าเดิม นำไปสู่การคิดละเอียดลออ และสุดท้ายนำไปสู่การคิดสร้างรรค์ การสังเกตทำให้เกิดการรับรู้ เกิดการเปรียบเทียบและนำไปสู่การจัดหมวดหมู่ การเรียนรู้ที่ดี ครูจะต้องเป็นผู้กระตุ้นเด็ก เชื่อมั่นในตัวเด็ก ยอมรับความแตกต่าง เห็นศักยภาพในตัวเด็ก และที่สำคัญไม่มีการเปรียบเทียบผลงานของเด็ก


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำผลงานและมีข้อติชมจากอาจารย์ จะนำไปปรับปรุงและแก้ไข
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจทำกิจกรรมและได้รับ้อติชมตามผลงาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ คอยสังเกตและคอยให้คำแนะนำติชมในการออกแบบชิ้นงานแต่ละชิ้น