Cute White Flying Butterfly Cute White Flying Butterfly

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2559 


ทบทวนเพลง

กิจกรรมที่ 1 

อุปกรณ์

การต่อ 3 ครั้ง โดยมีกติกาดังนี้
1. ห้ามทุกคนพูด
2. ให้พูดได้ 1 คน
3. ให้ปรึกษากันและพูดได้

ผลปรากฏว่าหอเริ่มสูงขึ้นทุกครั้ง ความยาวดังนี้ 22,46.5,53.5


กิจกรรมที่ 2
ทำเรือบรรทุกซอสให้ได้มากที่สุด

อุปกรณ์

ปรากฏว่า บรรทุกได้ 22 ซอง

เรือของเพื่อนแต่ละกลุ่ม

กิจกรรมที่ 3
ชุดรีไซเคิ้ลจากกระดาษหนังสือพิมพ์







 เนื้อหาที่เรียน
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

การเล่น
กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ 
ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-การเล่นในร่ม การเล่นตามมุมประสบการณ์ การเล่นสรรค์สร้าง
-การเล่นสรรค์สร้าง การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธีใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิมเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้ เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือนการเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่นการเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวการเรียนรู้เหตุและผล

การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน

การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

การเรียนรู้เหตุและผล


2. พัฒนาการของการรู้คิด ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน กระบวนการเรียนรู้กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
มีการสรุปท้ายกิจกรรม

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ประโยชน์
          ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์เราจะเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆรอบตัวสามารถนำมาทำอะไรได้หลากหลายเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและสนุกมากกับกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก เป็นการเรียนที่สนุกสนานมีกิจกรรมตลอดคาบ ผ่อนคลายสนุกสนาน














การบันทึกครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559


เพลง


จุด 9 จุดลากให้เป็นเส้นตรง 4 เส้นโดยไม่ยก


สามารถเป็นรูปอะไรได้บ้าง

 เนื้อหาที่เรียน

การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

            กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด 
คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
คุณค่าต่อสังคม
คุณค่าต่อตนเอง
ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ
ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี
พัฒนากล้ามเนื้อ
เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
2. ความคิดริเริ่ม (Originality)
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ
ระยะ 2 -4 ขวบ
ระยะ 4-6 ขวบ
ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
ช่วยให้ปรับตัวได้ดี

ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้

แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford
ทฤษฎี Constructivism
ทฤษฎีของ Torrance
บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
เด็กรู้สึกปลอดภัย
ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
ขจัดอุปสรรค
ไม่มีการแข่งขัน
ให้ความสนใจเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
มีไหวพริบ
กล้าแสดงออก
อยากรู้อยากเห็น
ช่างสังเกต
มีอารมณ์ขัน
มีสมาธิ
รักอิสระ
มั่นใจในตนเอง
อารมณ์อ่อนไหวง่าย
ไม่ชอบการบังคับ
ชอบเหม่อลอย
ซาบซึ้งกับสุนทรียภาพ
มีความวิจิตรพิสดาร
ชอบสร้างแล้วรื้อ รื้อแล้วสร้างใหม่
ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Producing Something and Using It)
ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก (Using Pupil Question)
การตั้งคำถาม 5W1H
Who ใคร 
What อะไร
Where ที่ไหน 
When เมื่อไหร่ 
Why ทำไม 
How อย่างไร

ผลงาน ให้ลากสีโดยฟังเพลงจนกว่าเพลงจะหยุด และดูว่าเป็นรูปอะไร
ผลงานเพื่อนๆ

ความรู้ที่ได้รับและนำไปใช้ประโยชน์
     การมีความคิดสร้างสรรค์ได้เราจะต้องรู้จักคิดนอกกรอบ คิดคล่องแคล่ว และผลงานที่ได้จะแปลกใหม่ สามารถมีการฝึกฝนได้


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและสนุกมากกกนกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนไม่เล่นเลย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก เป็นการเรียนที่สนุกสนานมีกิจกรรมตลอดคาบ